3 นักกีฬาเรือพายชายไทย ก้าวไปสู่การแข่งขันระดับนานาชาติ

3 นักกีฬาเรือพายชายไทย ก้าวไปสู่การแข่งขันระดับนานาชาติ

การพายเรือในทะเลอันกว้างใหญ่ เป็นกีฬาทางน้ำที่จะค่อนข้างได้เปรียบสำหรับผู้ที่อยู่ในช่วงรักษารูปร่างหรือลดน้ำหนัก นอกจากจะเป็นกิจกรรมที่ช่วยในเรื่องของการออกกำลังกายแล้ว ยังเป็นกีฬาเบา ๆ ที่เหมาะกับการพักฟื้นจากการบาดเจ็บหรือการผ่าตัด เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่มีแรงกระแทกต่ำ มันค่อนข้างที่จะปลอดภัย หากเปรียบเทียบกับกีฬาในหลาย ๆ ประเภท คือไม่ก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บเพิ่มเติม รวมไปถึงคนเราใช้การพายเรือเพื่อเป็นกีฬาสำหรับการแข่งขันบนเวทีระดับโลก อย่างการแข่งขันในโอลิมปิกด้วย เหมือนกับ นักกีฬาเรือพาย ชายไทยที่สร้างชื่อเสียงโด่งดังไกล กับการก้าวไปสู่การแข่งขันระดับนานาชาติมาแล้ว ทั้ง 3 คน ที่กำลังจะพูดถึงไปพร้อม ๆ กับเส้นทางการคว้าเหรียญรางวัลของพวกเขาทั้งหมดในบทความนี้

  1. นวมินทร์ ดีน้อย

นวมินทร์ ดีน้อย

เส้นทางนักกีฬาเรือกรรเชียงของ “แซ็ค” นวมินทร์ ดีน้อย ที่กว่าจะได้ก้าวไปสู่เวทีการแข่งขันในโอลิมปิกก็อย่างที่ทุกคนรู้กันนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งก่อนที่เขาจะมีชื่อเข้าร่วมการแข่งขันเป็นตัวแทนเยาวชนระดับทีมชาติไทยอย่างที่ใจฝันนั้น เขาและ “โอ๊ต” ศิวกร วงศ์พิน คู่หูรุ่นราวคราวเดียวกันที่แท็กทีมลงสนามแข่ง ทั้งคู่ต่างก็ต้องพิสูจน์ตัวเองด้วยการใช้ทักษะและความรู้ในกีฬาเรือกรรเชียงที่ได้ฝึกฝน เพื่อเอาชนะการแข่งขันระดับประเทศอย่างการคว้าเหรียญทองแดงแรกในการแข่งเยาวชนแห่งชาติ ฝึกซ้อมต่อไปจนคว้าเหรียญทองเยาวชนแห่งชาติอีกครั้งที่จังหวัดศรีสะเกษ ก่อนที่จะได้สิทธิ์ไปแข่งในเวทีระดับโลกอย่างโอลิมปิกเกมส์ “โตเกียว 2020” ประเทศญี่ปุ่น

  1. ศิวกรณ์ วงศ์พิณ

ศิวกรณ์ วงศ์พิณ

สำหรับ “โอ๊ต” ศิวกรณ์ วงศ์พิณ กับเส้นทางการเป็นนักกีฬาเรือพายเขาได้ติดเยาวชนทีมชาติไทยเป็นครั้งแรกในปี 2016 จนมีโอกาสได้เป็นตัวแทนระดับชาติไปแข่งโอลิมปิกเกมส์รอบคัดเลือก จนในที่สุดด้วยความมุ่งมั่นและไม่ย่อท้อเขาก็มีโอกาสได้ไปเป็นหนึ่งในตัวแทนการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ โตเกียว 2020 ในการแข่งขันประเภทเรือกรรเชียง รุ่นไลท์เวท 2 ฝีพายชาย รอบไฟนัล หรือรอบจัดอันดับ 13-18 สามารถทำเวลาได้ 6.56.13 นาที จบอันดับที่ 18 ส่งท้ายในการแข่งขันโอลิมปิก

  1. จารุวัฒน์ แสนสุข

จารุวัฒน์ แสนสุข

อีกหนึ่งนักกีฬาเรือพายของไทยที่ฝีพายนั้นไม่ธรรมดาทีเดียวกับ จารุวัฒน์ แสนสุข นักกีฬาเรือพายทีมชาติไทยที่เคยสร้างผลงานด้วยการคว้าเหรียญทองซีเกมส์ ปี 2015 และอันดับ 19 เรือพายเวิล์ดคัพ 2015 พร้อมการคว้าเหรียญทองแดง คู่กับ เปรม นามประเทือง ที่เมืองปาเล็มบัง ในเอเชียนเกมส์ 2018 ประเทศอินโดนีเซีย ในรายการเรือกรรเชียง

นอกจากจะได้เห็นเส้นทางสู่การเป็นตัวแทนของทีมชาติ แรงบันดาลใจ ความมานะบากบั่นของนักกีฬาแต่ละคนที่ได้ทำการคัดเลือกมาแล้ว ขอแนะนำประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับผู้ที่สนใจเล่นกีฬาทางน้ำว่ากิจกรรมทางน้ำ เช่น การพายเรือนั้นมีความพิเศษไม่แพ้กีฬาประเภทอื่น ๆ แถมมีประโยชน์มากมายต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการได้ปลดปล่อยความเครียด เกิดความสงบในทุกขณะเมื่อน้ำกระทบจังหวะของฝีพาย รวมไปถึงการได้ยินเสียงธรรมชาติจากรอบ ๆ ตัว สำหรับบางคนก็มีความเชื่ออีกด้วยว่าแร่ธาตุในอากาศที่มาจากทะเลจะช่วยทำหน้าที่เป็นช่วยบรรเทาความเครียดอีกด้วย


ออกซ์ฟอร์ด-เคมบริดจ์ ศึกเรือพายประเพณีที่ให้ความเสมอภาคชายหญิง

The Boat Race

เดือนเมษายนล่วงเข้ามา และสองมหาวิทยาลัยชื่อดังของอังกฤษ ออกฟอร์ด กับ เคมบริดจ์ ก็พร้อมแล้วสำหรับประเพณีการแข่งขันเรือพายที่จัดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 180 ปี ในทุกปีจะแบ่งประเภทการแข่งขันและรางวัลออกเป็น 2 ฝ่ายระหว่างทีมชายและทีมหญิง ในส่วนของสถิติอัตราการชนะของทีมชายต้องยกให้เคมบริดจ์ เพราะชนะมากกว่าออกซ์ฟอร์ดอยู่ที่ 82 ต่อ 80 ครั้ง ส่วนทีมหญิงก็ต้องยกให้ฝั่งเคมบริดจ์ เพราะชนะขาดลอดต่อเนื่องอยู่ที่ 42 ต่อ 30 ครั้ง จากการแข่งขันทั้งหมดกว่า 180 ที่ผ่านมา

เส้นทางและระยะเวลาการแข่งขันก็จะแข่งตามแนวแม่น้ำเทมส์จากฝั่งตะวันออกไปทางฝั่งตะวันตกด้วยระยะทาง 4 ไมล์กว่า ๆ (ประมาณ 6.8 กิโลเมตร) โดยจุดปล่อยเรือทั้ง 2 ลำ คือสะพานพัตนี่ย์ที่ผู้เข้าแข่งขันจากจะต้องแข่งกันผ่านสะพานแฮมเมอร์สมิธ หากใครถึงบริเวณมอร์ตเลคใกล้กับสะพานชิสสิคก่อนก็ถือเป็นผู้ชนะ ในการแข่งขันทีมหญิงจะเป็นฝ่ายเริ่มก่อน ระหว่างการแข่งขันทางผู้จัดก็เปิดโอกาสให้ชาวเมืองลอนดอนและนักท่องเที่ยวเข้ามาตามลุ้นตามเชียร์นักกีฬาได้ตามอัธยาศัย

ประเด็นที่ว่าศึกประเพณีให้ความเสมอภาคระหว่างชายหญิง ในการแข่งขันนั้นพึ่งเกิดขึ้นเมื่อร้อยปีให้หลังปี ค.ศ.1927 เดิมทีจะมีเพียงการแข่งขันของทีมชาย ด้วยความเชื่อที่ถูกส่งต่อกันมาของบางฝ่ายที่มีความเห็นว่าพายเรือเป็นกีฬาที่เหมาะสำหรับผู้ชายเท่านั้น แต่ด้วยการต่อสู้ด้วยเหตุผล ทั้งทางด้านฝีมือและด้านการเงินอย่างไม่ลดละของทั้งสองมหาวิทยาลัย ทำให้ในที่สุดทีมพายเรือหญิงก็ได้เข้าร่วมแข่งขันในแม่น้ำเทมส์เหมือนกับการแข่งขันชาย อย่างไรก็ตาม ต้องยกความดีความชอบให้ทั้ง ออกซ์ฟอร์ด-เคมบริดจ์ สองมหาวิทยาลัยอย่างแท้จริงที่ทำให้ประเพณีการพายเรืออันเก่าแก่เกิดความเสมอภาคชายหญิงในการแข่งขัน

ถ้าอยากต่อยอดการเป็นนักกีฬาในโอลิมปิก โดยเริ่มต้นจากการแข่งขันในประเพณีนี้ทำได้ไหม? คำตอบคือ ได้แน่นอน สำหรับการต่อยอดทางกีฬาพายเรือสามารถทำได้ไปจนถึงการเป็นตัวแทนระดับทีมชาติเพื่อไปแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เพราะมีนักพายเรือจำนวนไม่น้อยที่ไปสร้างชื่อเสียงในระดับโลก โดยมีจุดเริ่มต้นจากการเป็นนักพายเรือในประเพณีที่ว่านี้ ขอยกตัวอย่าง เซอร์ แมททิว พินเซนท์ ศิษย์เก่าทีมพายเรือของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดช่วงปี 1990–1993 ที่เคยคว้าเหรียญทองจากกีฬาพายเรือโอลิมปิก ช่วงปี 1992–2004 ไปมากถึง 4 เหรียญด้วยกัน

ref : https://thematter.co/entertainment/oxbridge-boat-race-2017/21623